มิ.ย.-ก.ค.นี้! ลุยประมูลงานระบบทางด่วน “พระราม3-วงแหวนฯ” 800 ล้าน

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาพรวมงานการก่อสร้างโครงการทางพิเศษ (ด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก วงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท มีความคืบหน้าประมาณ 28% เร็วกว่าแผนงานประมาณ 4% โดยสัญญาที่ 1 งานสร้างทางยกระดับจากแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เซ็นทรัลพระราม 2 ขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่ กม.13+000 ของถนนพระราม 2 ถึง กม.6+600 ของถนนพระราม 2 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร (กม.) คืบหน้า 2.15% เร็วกว่าแผน 0.49% 

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า สัญญาที่ 2 งานสร้างทางยกระดับจากเซ็นทรัลพระราม 2-รพ.บางปะกอก 9 ขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่ กม.6+600 ของถนนพระราม 2 ถึงบริเวณทางแยกต่างระดับดาวคะนอง ระยะทาง 5.3 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. คืบหน้า 40.58% เร็วกว่าแผน 4.68%, สัญญาที่ 3 งานสร้างทางยกระดับจาก รพ.บางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ขนาด 6 ช่องจราจรคร่อมตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงดาวคะนอง-สุขสวัสดิ์-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 5 กม. คืบหน้า 2.53% เร็วกว่าแผน 0.87%, สัญญาที่ 4 งานสร้างสะพานขึงคู่ขนานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร มีความยาวช่วงกลางสะพาน 450 เมตร สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ระยะทาง 2 กม. คืบหน้า 74.29% เร็วกว่าแผน 11.09% 

นายสุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ส่วนสัญญาที่ 5 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และระบบสื่อสาร วงเงินประมาณ 800 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างขอบเขตของงานจ้างก่อสร้าง ให้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางเป็นระบบอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจะช่วยในการระบายการจราจรหน้าด่านฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสอดคล้องและสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บค่าผ่านทางของโครงการทางยกระดับบนถนนทางหลวงหมายเลข 35 ของกรมทางหลวงในอนาคต อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในเดือน มิ.ย.-ก.ค.65 ได้ผู้ชนะประมูลเดือน ก.ย.-ต.ค.65 จากนั้นจะเริ่มดำเนินการงานระบบในปลายปี 65

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า กทพ. คาดว่าโครงการทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 67 อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้รับจ้างสัญญาที่ 3 ให้เร่งดำเนินการก่อสร้างทางขึ้น-ลงบริเวณถนนสุขสวัสดิ์ให้แล้วเสร็จภายในปี 66 เพื่อให้สามารถเปิดใช้สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9  และรถจะสามารถขึ้นลงถนนสุขสวัสดิ์ได้ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรรถเข้า-ออกเมืองที่จะใช้สะพานพระราม 9 เดิมได้ในระหว่างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จทั้งโครงการ

นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กทพ. อยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอพระราชทานชื่อสะพาน คู่ขนานสะพานพระราม 9 เพื่อเทิดพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ กทพคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ตลอดจนเป็นความภูมิใจของประชาชน โดยสะพานแห่งนี้มีการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมแล้ว สอดคล้องกับความสวยงามของสะพานพระราม 9 ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฯ และช่วยระบายการจราจรที่ติดขัดสะสม ลดปริมาณรถจากสะพานพระราม 9 เดิม เพื่อเดินทางไปยังอีกฝั่งของแม่น้ำได้อย่างสะดวกมากขึ้น

นายสุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 มีจุดเริ่มต้นบริเวณเชิงลาดสะพานพระราม 9 (ฝั่งธนบุรี) ก่อสร้างเป็นสะพานขึง (Cable Stayed Bridge) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 8 ช่องจราจร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างมากที่สุดในไทย มีความยาวช่วงกลางสะพาน (Mid Span) 450 เมตร และมีความยาวของสะพาน 780 เมตร ข้ามไปฝั่งกรุงเทพฯ และเชื่อมต่อกับทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และสิ้นสุดโครงการฯ ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคล่ โดยจะเชื่อมต่อกับทางด่วนเฉลิมมหานคร และทางด่วนศรีรัช ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ระยะทางรวมประมาณ 2 กม.